วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554

มารู้จักพยาธิเม็ดเลือดในแมว : Hemobartonellosis

พยาธิเม็ดเลือดในแมว : Hemobartonellosis หรือ Feline Infectious Anemia หรือ Mycoplasma haemofelis
    เกิดจากเชื้อ Hemobartonella feris ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า  Mycoplasma haemofelis เดิมเข้าใจว่าเป็นกลุ่มริกเก็ตเซียปัจจุบันถูกจัดเป็นเชื้อแบคทีเรีย    เชื้อจะเกาะอยู่บนผิวของเม็ดเลือดแดงที่โตเต็มวัย  เมื่อระบบภูมิต้านทานของร่างกายตรวจพบเชื้อนี้ จะมีการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ติดเชื้อนี้ที่ม้าม  การติดต่อของเชื้อเกิดได้จากการได้รับการถ่ายเลือดที่มีเชื้อ  การถ่ายทอดจากแม่สู่ลูกขณะอยู่ในครรภ์ หรือผ่ายแมลงดูดเลือดที่เป็นภาหะซึ่งคาดว่ายุงและหมัดจะเป็นพาหะของเชื้อนี้   มักพบเชื้อนี้ในแมวที่ไม่แสดงอาการป่วย  จึงมีการสันนิษฐานว่าโรคนี้อาจเป็นโรคแทรกซ้อน หลังจากเกิดโรคที่ทำให้เกิดความเครียด    ถ้าไม่ทำการรักษาโรคนี้มีอัตราการเสียชีวิต 30%
*** ภาพประกอบจากหนังสือ โลหิตวิทยาทางสัตวแพทย์ สพ.ญ.ดร.เฉลียว ศาลากิจ

อาการ
  • ซึมและเบื่ออาหาร
  • เยื่อเมือกซีด หรือเหลือง
  • หายใจเร็วหรือหอบ
  • คลำท้องพบม้มขยายใหญ่

การวินิจฉัย
   ทำการตรวจเลือด
  • CBC : ดูค่า PCV, RBC และ Hb ซึ่งมักจะต่ำกว่าปกติ  และตรวจพบเชื้อ Hemobartonella feris อยู่บนผิวเม็ดเลือดแดง
  • Reticulocyte count : จะพบค่าเพิ่มขึ้นหลังจากมีการทำลายเม็ดเลือดแดง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 4-6 วัน

 การรักษา
  • ในแมวที่โลหิตจาง ไม่ควรทำให้แมวเครียด  ควรให้อยู่ในที่สงบ
  • ให้เลือดแก่แมวที่ PCV ต่ำกว่า 15%
  •  ให้ยากลุ่ม Tetracyclines เช่น  Vibravet (ยาฆ่าเชื้อแบบก้างปลา)  และยากลุ่ม Fluoroquinolone เช่น Marbocyl ติดต่อกัน 28 วัน 
  • ให้ Prednisolone เพื่อป้องกันเม็ดเลือดแดงแตก และช่วยกระตุ้นการทำงานไขกระดูก และกระตุ้นความอยากอาหาร
  •  ให้ Glucose เข้าเส้นเลือดในแมวที่สุขภาพทรุดโทรมเพื่อป้องกันภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  •  ให้สารอาหารบำรุงร่างกาย

การติดตามผล
  • ควรตรวจเลือดเช็ค PCV วันเว้นวัน หลังจากเริ่มทำการรักษา
ที่มาจาก : http://www.click2vet.com/ น.สพ.กิติกร เกียรติยิ่งอังศุลี