วันจันทร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2554

รู้ทันโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว

FLUTD : Feline Lower Urinary Tract Disease : โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว

โรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมวหรือ FLUTD ประกอบด้วยกลุ่มอาการต่างๆซึ่งส่วนใหญ่ก่อให้เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง แมวป่วยมักแสดงอาการเหมือนกระเพาะปัสสาวะอักเสบในคน เช่นการมีเลือดในปัสสาวะ อาการปัสสาวะไม่ออกหรือลำบาก

ในแมวบางตัว การเกิดผลึกนิ่วในทางเดินปัสสาวะส่วนล่างสามารถทำให้เกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะได้ ซึ่งพบได้บ่อยในแมวเพศผู้เนื่องจาก ท่อปัสสาวะของแมวเพศผู้แคบกว่าท่อปัสสาวะของแมวเพศเมีย ในแมวที่ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะได้ สามารถเสียชีวิตได้ภายใน 2-4 วัน เนื่องจากกรณีที่มีการอุดตันของท่อปัสสาวะนั้นจะทำให้น้ำปัสสาวะไหลย้อนกลับขึ้นไปทำลายไต และทำให้เกิดไตวายตามมาได้




สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง

ไม่มีสาเหตุที่แน่นอนของโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง แต่จากการศึกษาพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงดังนี้
อาหาร : ระดับแร่ธาตุบางชนิดที่สูงเกินไปจะทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดผลึกนิ่วในปัสสาวะ

แร่ธาตุแมกนีเซียมและฟอสฟอรัส เป็นส่วนประกอบสำคัญของในนิ่วสตรูไวท์ (struvite)
ซึ่งเป็นนิ่วที่พบได้บ่อย ดังนั้นจึงควรีการควบคุมปริมาณแร่ธาตุเหล่านี้ในอาหารให้มีปริมาณน้อย
นอกจากนี้อาหารแมวยังมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด-ด่างในปัสสาวะ
ซึ่งนิ่วแต่ล่ะชนิดจะมีการก่อตัวในสภาพความเป็นกรด-ด่างที่แตกต่างกัน
 เช่นนิ่วสตรูไวท์จะก่อตัวในปัสสาวะที่เป็นด่าง ในขณะที่นิ่วแคลเซี่ยมออกซาเลท
(calcium oxalate) จะก่อตัวได้ดีในปัสสาวะที่เป็นกรด
ดังนั้นการให้อาหารที่ปรับสมดุลความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะได้เหมาะสม
ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดผลึกนิ่ว

พฤติกรรม : การขาดการออกกำลังกาย การถูกกักขัง การกินน้ำน้อย การอั้นปัสสาวะ
เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

สภาพร่างกาย : แมวที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนเนื่องจากอาหารและปัจจัยแวดล้อม
มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

เพศ : แมวทั้งเพศผู้และเพศเมียมีความเสี่ยงในการเกิดโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างเท่าๆกัน
แต่แมวเพศผู้มีความเสี่ยงในการเกิดการอุดตันมากกว่าแมวเพศเมีย
เนื่องจากลักษณะทางกายภาพของท่อทางเดินปัสสาวะที่เล็กกว่าแมวเพศเมีย
ความเครียด : การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม หรือการมีสัตว์เลี้ยงตัวใหม่

*** จากการศึกษาในปัจจุบันพบว่าการทำหมันแมวเพศผู้ตั้งแต่อายุน้อย
 ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดนิ่วหรือปัญหาท่อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างอุดตันแต่อย่างใด ***

อาการของแมวที่เป็นโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
ปัสสาวะบ่อย แต่ปริมาณน้อย
ปัสสาวะผิดที่ หรือปัสสาวะนอกกระบะทราย
มีเลือดในปัสสาวะ
เลียที่อวัยวะเพศบ่อยๆ โดยเฉพาะในแมวตัวผู้
แสดงอาการเจ็บปวด หรือเกร็งเวลาถ่ายปัสสาวะ

*** ในแมวที่ไม่สามรถถ่ายปัสสาวะได้ เนื่องจากเกิดการอุดตันทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
 จำเป็นต้องได้รับการรักษาทันที เพราะเป็นปัญหาที่อันตรายถึงชีวิต ***







การวินิจฉัยโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
จากประวัติและอาการ : ปัสสาวะเป็นเลือด หรือปัสสาวะไม่ออก
จากการตรวจร่างกาย : เจ็บเกร็งเมื่อคลำช่องท้อง พบกระเพาะปัสสาวะมีขนาดใหญ่ในรายที่การอุดตันทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
การตรวจวิเคาะห์ปัสสาวะเพื่อดูผลึกที่ละลายอยู่ในปัสสาวะ (เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการระบุชนิดของนิ่ว)
การ x-ray หรือ ultrasound ช่องท้อง เพื่อดูก้อนนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ อาจพบหรือไม่พบก้อนนิ่วก้ได้ เนื่องจากก้อนนิ่วมีหลายชนิด มีทั้งแบบที่มองเห็นและมองไม่เห็น

*** ก้อนนิ่วที่ผ่าตัดเอาออกมาจากกระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถที่จะระบุชนิดของนิ่วจากรูปร่างของก้อนนิ่วได้ เนื่องจากก้อนนิ่วที่จับตัวเป็นก้อนนั้นมีแร่ธาตุหลายอย่างผสมกันอยู่ การจะระบุชนิดของนิ่วจากก้อนนิ่วที่ผ่าออกมานั้นปัจจุบันสามารถตรวจได้เพียงที่เดียวคือที่ Minnesota Urolith Center ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา (สอบถามรายละเอียดการส่งตรวจก้อนนิ่วเพื่อระบุชนิดนิ่วได้ที่สถานพยาบาลสัตว์ที่รักษาอยู่ โดยเป็นการส่งผ่านบริษัท เวท เรคคอมเมนด์ จำกัด : VET. RECOMMENDED CO., LTD. ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนจำหน่ายอาหารของ Hill's)







ลักษณะของผลึกนิ่วในปัสสาวะ (Crystal Identification)

ลักษณะของก้อนนิ่วที่ผ่าออกจากกระเพาะปัสสาวะ (Urolith Identification)











การรักษาโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง

ขึ้นอยู่กับอาการ ลักษณะของปัญหา การอุดตัน และชนิดของก้อนนิ่ว

การรักษาทางยา :
หรือกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ขยายท่อปัสสาวะและช่วยละลายนิ่ว
การปรับสมดุลกรดด่างของปัสสาวะ เพื่อให้นิ่วละลาย (ต้องทราบชนิดของนิ่วที่เป็นก่อน)


การสอดท่อปัสสาวะในรายที่มีการอุดตัน

การให้สารน้ำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ และ

กรณีมีก้อนนิ่ว ขึ้นอยู่กับชนิดของนิ่วว่าจะผ่าตัด รักษาด้วยยา หรืออาหารสัตว์ป่วยเฉพาะโรค
การผ่าตัดแปลงเพศในแมวเพศผู้ที่เกิดการอุดตันท่อทางเดินปัสสาวะส่วนล่างแบบแก้ไขไม่ได้


การดูแลระยะยาว
เลือกใช้อาหารสัตว์ป่วยเฉพาะโรคที่เหมาะสมกับปัญหาที่เป็น
ไม่ให้แมวกินของขบเคี้ยว อาหารปรุงเอง หรือวิตามินอาหารเสริมเองโดยเด็ดขาด
จัดหาน้ำดื่มที่สะอาดให้แมว หากจำเป็นอาจต้องบังคับป้อนน้ำให้แมวเป็นระยะ
หมั่นดูแลกระบะทราย ดูการขับถ่ายของแมวเป็นประจำ
เมื่อแมวเริ่มแสดงอาการผิดปกติเกี่ยวกับปัญหาทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง
รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที



ข้อแนะนำในการให้อาหารสัตว์ป่วยเฉพาะโรค

อาการเบื่ออาหารหรือปฏิเสธอาหารสัตว์ป่วยเฉพาะโรคอาจพบได้ในแมวหลายๆตัว
 หากแมวของท่านปฏิเสธการกินอาหารให้ลองปฏิบัติดังนี้
เปลี่ยนแปลงอาหารอย่างช้าๆ โดยเริ่มจากการผสอาหารใหม่กับอาหารเก่า
 และค่อยๆเพิ่มสัดส่วนอาหารใหม่ทุกๆวันทีละน้อย จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นอาหารใหม่ 100%
หากเป็นอาหารเปียกสามารถอุ่นอาหาร ให้อุ่นๆ เพื่อเพิ่มความน่ากินของอาหาร
ระวังอย่าให้อุณหภูมิสูงเกินไป
หากแมวของท่านไม่ยอมกินอาหารเกินกว่า 48 ชั่วโมง รีบปรึกษาสัตวแพทย์ทันที

*** ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการบังคับป้อนอาหาร
 โดยใช้อาหารผสมน้ำและปั่นให้ละเอียด และบังคับป้อนด้วย Syringe
หรืออาจผสมอาหารที่แมวชอบ แต่ต้องเป็นอาหารที่ไม่ปรุงรสลงไปในอาหารสัตว์ป่วย
โดยอัตราส่วนไม่เกิน 10% ของปริมาณอาหารสัตว์ป่วยที่ต้องกิน
 เพื่อเพิ่มความน่ากินของอาหาร
(อาหารสัตว์ป่วยเฉพาะโรคต่อให้ดีเลิศแค่ไหนก็ตาม ถ้าไม่สามารถทำให้สัตว์กินได้ก้ไม่มีประโยชน์)




อ้างอิงจาก
Handbook of CAT HEALTH ของบริษัท Pfizer)
The 5-Minute Veterinary Consult: Canine and Feline
เอกสารเรื่องโรคทางเดินปัสสาวะส่วนล่างในแมว ของบริษัทเวท เรคคอมเมนด์ จำกัด
คู่มือ Managing Crystalluria and Urolithiasis Feline & Canine ของบริษัท Hill's
เรียบเรียงใหม่โดย น.สพ.กิติกร เกียรติยิ่งอังศุลี webmaster :
click2vet.com
การบรรเทาตามอาการอื่นๆ
ยาปฏิชีวนะในรายที่มีการติดเชื้อ ยาขับปัสสาวะ